เกาะสมุย

เกาะพีพี

ปฏิทินของฉัน

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บัวบก


ชื่อวิทย์ Centelia asiatica(Linn) Urban
ชื่อวงศ์ UMBELLIFERAE
ชื่ออื่น ผักหนอก(เหนือ), ผักแว่น(จันทบุรี),เคียกำเช่า(จีน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

บัวบกเป็นพืชล้มลุก ขึ้นเป็นกอติดดิน มีอายุหลายปี ลำต้นเลื้อยไปตามพื้นดิน แตกราก และใบตามข้อ ใบเป็นเดี่ยว รูปไตออกเป็นกระจุกตามข้อ ขอบใบหยัก ก้านใบยาว ดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อเล็กๆ ประมาณ 3-4 ดอก ดอกสีม่วงแดง ผลแบน

สรรพคุณ
๑. บำรุงสมอง นำใบบัวบกมาล้างน้ำให้สะอาด โขลกให้แหลกนำไปต้มกรองเอาแต่น้ำ มาดื่ม หรือจะคั้นสด ผสมกับน้ำดื่มก็ได้ อาจเติมน้ำตาลทราย และ เกลือ นิดหน่อย ให้ชวนดื่ม ดื่มไปทุกวันๆละ ๑ แก้ว
๒. บำรุงหัวใจ ต้มดื่ม เช้า-เย็น ครั้งละ ๑ แก้ว
๓. แก้ร้อนในกระหายน้ำ จะต้มหรือคั้นสดก็ได้ ดื่ม ๑ แก้ว เวลากระหายน้ำ
๔. แก้ช้ำใน นำใบบัวบกสะอาดสดมาโขลก แล้วคั้นเอาแต่น้ำมาดื่ม เช้า-เย็น ครั้งละ ๑ ถ้วยตะไล ไม่นานอาการช้ำในก็จะทุเลาลงไปเรื่อยๆ
๕. ความดันโลหิตสูง ต้มน้ำใบบัวบกต้ม เช้า-เย็น ครั้งละ ๑ แก้ว เป็นเวลา ๕-๖ วัน แล้วลองวัดความดันโลหิตดู จะลดลงมาปกติ อาการของโรคจะหายได้ จากนั้น ควรควบคุมเรื่องอาหาร กับการออกกำลังกายและอารมณ์
๖. ลดอาการแพ้ ผื่นคัน ปวดแสบ ปวดร้อน อักเสบได้ นำใบบกสะอาดมาตำให้ละเอียด พอกบริเวณที่แพ้ อักเสบ อาการที่เป็นจะค่อยๆทุเลาลง
๗. รักษาบาดแผลสด ใช้ตำและพอกที่แผล สามารถทำลายเชื้อโรคได้
๘. ดับพิษไข้ คั้นเอาน้ำสด ดื่ม ๑ ถ้วยตะไล ไม่ต้องผสมน้ำเลย ดื่ม ๓ เวลา เช้า- กลางวัน - เย็น
๙. แก้ปวดท้อง มวนในท้อง ท้องเสียได้ โดยคั้นเอาน้ำสดๆเข้มข้นดื่มช่วยให้ทุเลาได้
๑๐. แก้บิด ใช้ใบบัวบกสอเข้มข้น ดื่มสดๆ เพื่อทำลายเชื้อบิด ดื่มเช้า - กลางวัน - เย็น ประมาณ ครั้งละ ๑ ถ้วยตะไล
๑๑. แก้ดีซ่าน เอาบัวบกมาคั้นน้ำดื่มสดๆ ๓ เวลา เช้า-กลางวัน-เย็น
๑๒. แก้อาเจียนเป็นเลือด คั้นเอาน้ำสดๆ ดื่ม ๓ เวลา เช้า - กลางวัน -เย็น
๑๓. รักษาอาการตาแดง ตำใบบัวบกสดๆหลับตาแล้วพอกที่ตาเป็นเวลานานๆ แล้วเปลี่ยนยา บ่อยๆ หายได้ในที่สุด
๑๔. สร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
๑๕. แก้เจ็บคอ เอาบัวบกสดเข้มข้น ใส่เกลือเล็กน้อย แล้วจิบเอา แก้อาการเจ็บคอดี มาก จิบได้เรื่อยๆ
๑๖. ขับปัสสาวะ นำใบบัวบกสดคั้นน้ำ ดื่มกันสดๆ อาจเติมความหวานเล็กน้อยก็ได้
๑๗. แก้กามโรค เป็นน้ำกระสายยา ในการรักษากามโรค กินร่วมกับยาอื่นได้
๑๘. แก้โรคเรื้อน ใช้ใบบัวบกคั้นน้ำดื่มทุกๆวัน เช้า-เย็น และตำพอกแผลด้วย
๑๙. ป้องกันมะเร็ง ยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ ดื่มบ่อยๆ
๒๐. แก้อาการอ่อนเพลีย
ยาบำรุงหัวใจ
ขนานที่ ๑ บัวบกล้างสะอาด ๑ กำมือ ใบเตยหอมสด หั่นท่อนสั้น ๑ กำมือ
ขนานที่ ๒ บัวบกล้างสะอาด ๒ ตำลึง รากกระชายสดหั่นสั้น ๒ กำมือ
ขนานที่ ๓ บัวบกล้างสะอาด ๒ กำมือ รากแฝกหอมล้างสะอาด ๑๕ กรัม
ขนานที่ ๔ บัวบก ๒ กำมือ แก่นกฤษณา ๑๕ กรัม การปรุงยา เอาตัวยาทั้ง ๒ ชนิดรวมกันใส่ลงไปในหม้อ ใส่น้ำสะอาดพอท่วมยา ต้มเคี่ยวจนเดือดอ่อนๆ สสัก ๒๐ นาที แล้วยกลง ขนาดรับประทาน ครั้งละ ๑ แ้ก้ว ขณะอุ่น ๆ ดื่มได้ไม่จำกัดเวลา เมื่อกระหายน้ำ
ส่วนที่ใช้ใบและเถา รสกรอบมัน รับประทานเป็นผัก ปรุงเป็นเครื่องดื่มได้ ใบบัวบกเอาไปรับประทานกับก๋วยเตี๋ยวผัดไทยได้อย่างเอร็ดอร่อยเข้ากันได้ดีมาก เคี้ยวก๋วยเตี๋ยวผัดไทยไปพลางแกล้มด้วยใบบัวบกได้รสชาติที่ดีจริงๆหรือใช้เป็นผักแกล้มกับแกงเผ็ดทางใต้ หรือนำมาหั่นแกงกะทิกับกุ้งก็อร่อยเช่นกัน ที่นิยมกันมากคือน้ำใบบัวบกมีผู้ไปทำขายเป็นเครื่องดื่มมีกลิ่มหอมรสดี บวกกับความหวาน ความเย็นแสนจะชื่นใจ ราคาก็ไม่แพงอย่างที่คิด มีประโยชน์คับแก้ว แต่ไม่ควรนำสีมาผสม เพราะไม่ใช่สีธรรมชาติ อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ เราควรทำน้ำใบบัวบกดื่มเองจะดีกว่า ง่าย สะดวกไม่ยุ่งยากซับซ้อน
ได้แก่
1. ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความจำเสื่อม อาทิ ผู้สูงอายุ สตรีวัยทอง
2. ผู้ที่อยู่ในวัยทำงานที่ต้องใช้สมองอย่างมาก และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความทรงจำ
3. ผู้ที่มีความเครียดสูงจากการทำงานหนัก
4. ผู้ที่มีความผิดปกติทางผิวหนัง และกล้ามเนื้อโดยมีอาการฟกช้ำ และผิวหนังอักเสบ
5. ผู้ป่วยหลังการผ่าตัด เพราะช่วยเร่งการสมานแผลให้เร็วยิ่งขึ้น
การปลูก
บัวบกขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและไหล ตัดแยกไหลที่มีต้นอ่อนและมีรากงอก นำไปปลูกในที่ชื้นแฉะ แต่ต้องมีแดดพอสมควรเป็นพืชที่ขึ้นง่าย
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บใบที่สมบูรณ์เต็มที่
สาระสำคัญ
ในลำต้นและใบมีสารที่สำคัญคือ กรดมาดีคาสสิค (madecassic acid), กรดเอเซียติก (asiatic acid) สารเหล่านี้ จะมีฤทธิ์ในการสมานแผล ช่วยในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดเชื้อเป็นหนองในได้อีกด้วย














ขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa L.
ชื่อสามัญ : Turmaric
วงศ์ : Zingiberaceae
ชื่ออื่น : ขมิ้น (ทั่วไป) ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้มิ้น หมิ้น (ภาคใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 30-90 ซม. เหง้าใต้ดินรูปไข่มีแขนงรูปทรงกระบอกแตกออกด้านข้าง 2 ด้าน ตรงกันข้ามเนื้อในเหง้าสีเหลืองส้ม มีกลิ่นเฉพาะ ใบ เดี่ยว แทงออกมาเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนทับกันรูปใบหอก กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอก ช่อ แทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวล บานครั้งละ 3-4 ดอก ผล รูปกลมมี 3 พู

ส่วนที่ใช้ : เหง้าแก่สด และแห้ง
ประโยชน์ละสรรพคุณของขมิ้นชัน
ขมิ้นชัน เป็นสมุนไพรที่ใครๆ ก็รู้จัก เพราะมักจะพบในชีวิตประจำวัน โดยนิยมใช้ปรุงแต่งกลิ่นและรสในอาหารหลายชนิด โดยเฉพาะอาหารทางภาคใต้ เช่น แกงเหลือง แกงไตปลา แกงกะหรี่ ไก่ทอดขมิ้น เป็นต้น นับเป็นความฉลาดของคนใต้ ที่หาวิธีกินขมิ้นในชีวิตประจำวัน เพราะขมิ้นนั้นปัจจุบัน มีงานศึกษาวิจัยพบว่ามีคุณค่าต่อสุขภาพยิ่งนัก และยังพบว่าขมิ้นชันโดยเฉพาะในภาคใต้ดีที่สุดในโลก เพราะมีสารสำคัญคือเคอร์คิวมิน และน้ำมันขมิ้นสูงกว่าประเทศอื่นๆ ที่มีการปลูกขมิ้นทั้งหมด คนสมัยก่อนมีการใช้ประโยชน์จากขมิ้นในหลายๆ ด้าน ทั้งเป็นยาภายนอกและยาภายใน ในส่วนของยาภายนอกเชื่อว่าขมิ้นชัน ช่วยรักษาแผล ทำให้แผลไม่เป็นหนอง ช่วยสมานแผล ดังนั้น เวลาที่ก่อนจะบวชเป็นพระนาคต้องปลงผมก่อนอุปสมบท หลังจากโกนผมแล้วเขาจะทาหนังศรีษะด้วยขมิ้น เพื่อรักษาบาดแผลที่อาจจะเกิดจากใบมีดโกน ขมิ้นยังมีสรรพคุณ ในการรักษาพิษแมลงสัตว์กัดต่อย ในสมัยที่ยังเล็กๆ ตอนยุงกัดเป็นตุ่มแดง คุณยายมักจะใช้ปูนกินกับหมากแต้ม เพราะต้องการฤทธิ์แก้พิษของขมิ้น ที่ผสมอยู่ในปูนที่กินกับหมาก และฤทธิ์ของปูนที่ช่วยให้ขมิ้นติดผิวได้ดีขึ้น (ปูนกินกับหมากของคนโบราณ ได้จากการเผาเปลือกหอยจนร้อนจัด สามารถบดเป็นฝุ่นละเอียดสีขาว แล้วเอาไปผสมกับขมิ้นจะให้สีส้ม หรือเรียกเป็นสีเฉพาะว่า สีปูน) นอกจากนี้ยังนิยมใช้ขมิ้นเป็นเครื่องสำอาง คนในแถบตอนใต้ของเอเชีย และแถบตะวันออกไกล ใช้ขมิ้นทาผิวหน้าทำให้ผิวหน้านุ่มนวล คนมาเลเซียและคนไทยสมัยก่อนจะใช้ขมิ้นในการอาบน้ำ ทำให้ผิวผ่องยิ่งขึ้น วิธีการอาบน้ำด้วยขมิ้นนั้น จะทาขมิ้นหมักไว้ที่ผิวหนังสักพัก แล้วจึงขัดออกด้วยส้มมะขามเปียก นอกจากทำให้ผิวหนังนุ่มนวลแล้ว ขมิ้นยังมีสรรพคุณในการป้องกันการงอกของขน ผู้หญิงอินเดียจึงใช้ขมิ้นทาผิวหนัง เพื่อป้องกันไม่ให้ขนงอก คนพม่าเชื่อว่าถ้าใช้ขมิ้นผสมสมุนไพร ที่ชื่อทาคาน่า ทาผิวเด็กสาวตั้งแต่ยังเล็กๆ จะทำให้เนื้อผิวละเอียด จนมีคำกล่าวในบรรดาชายไทยว่าสาวจะสวยต้อง "ผิวพม่า นัยน์ตาแขก" ส่วนในการใช้เป็นยารับประทาน เชื่อว่าขมิ้นชันมีสรรพคุณในการกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย มีสรรพคุณในการช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ช่วยย่อยอาหาร มีสรรพคุณในการบำรุงร่างกายและช่วยบำรุงตับ รักษาระบบทางเดินหายใจที่ผิดปกติ หืด ไอ เวียนศรีษะ รักษาอาการปวดและอักเสบเนื่องจากไขข้ออักเสบ เป็นต้น ปัจจุบันมีการศึกษาเพื่อพิสูจน์สรรพคุณของขมิ้น ตามการใช้แบบโบราณ ก็พบว่ามีสรรพคุณมากมายตามที่เคยใช้กันมา เช่น ขมิ้นชันมีสรรพคุณทำให้แผลหายเร็วขึ้น มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ลดปฏิกิริยาภูมิแพ้ เพิ่มภูมิคุ้นกันให้แก่ร่างกาย มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง มีฤทธิ์ขับน้ำดีช่วยในการย่อยและป้องกันไม่ให้เป็นนิ่วในถุงน้ำดี มีฤทธิ์ขับลม และมีการศึกษาการใช้ขมิ้นชันรักษาโรคกระเพาะในประเทศไทย (โรงพยาบาลศิริราช) พบว่า ได้ผลดีพอควร มีการค้นพบสรรพคุณใหม่ๆ ของขมิ้นชันอีกมากมาย เช่น การป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด การชลอความแก่ การเป็นสารต้านมะเร็งและเนื้องอกต่างๆ พบว่า การกินอาหารผสมขมิ้นสามารถทำลายเชื้อไวรัสที่ผ่านมาทางอาหารได้ รวมทั้งสามารถป้องกันมะเร็งจากสารก่อมะเร็งต่างๆ และยังมีสรรพคุณในการต้านไวรัส โดยเฉพาะเชื้อ HIV อันเป็นต้นเหตุของโรคเอดส์ ขมิ้นชันจึงเป็นอีกความหวังหนึ่งของผู้ป่วยเอดส์ ขมิ้นชันยังมีคุณสมบัติ ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันและลดปฏิกิริยาการแพ้ คนที่เป็นโรคภูมิแพ้และเป็นหวัดบ่อยๆ สมควรกินอาหารใต้ที่ใส่ขมิ้นทุกวันจะได้แข็งแรง ตอนนี้สงสารหมอโรคภูมิแพ้ เพราะคนเป็นกันมากเหลือเกินและเราต้องขาดดุลยารักษาโรคภูมิแพ้ ที่รักษาไม่หายสักที่ปีละมากมายมหาศาล หันมาลองกินขมิ้นชันกันดีกว่า หากจะหันกลับมากินขมิ้นชันกันนั้น ควรเลือกขมิ้นชันที่ได้คุณภาพ คือ ขมิ้นชันต้องมีอายุอย่างน้อย 9-12 เดือน จึงสามารถขุดเหง้ามาทำยาได้ และต้องไม่เก็บไว้นานเกินไป จนน้ำมันหอมระเหยหายหมด และต้องเก็บให้พ้นแสง เพราะแสงจะมีปฏิกิริยากับเคอร์คิวมิน อันเป็นสารสำคัญในขมิ้นชัน หากจะกินขมิ้นอย่างเป็นล่ำเป็นสันก็ควรปลูกเอง ดูเอง ขุดมาใช้เองดีที่สุด ถูกดี และควบคุมคุณภาพได้ คนที่ทำไม่ได้ก็จงเลือกแหล่งซื้อที่ไว้ใจได้ ปัจจุบันขมิ้นชันแคปซูล อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ และเป็นยาในงานสาธารณสุขมูลฐาน จึงสามารถที่จะเบิกค่ายาจากระบบประกันได้ และแคปซูลขมิ้นชั้นยังสามารถวางจำหน่ายได้ในร้านค้าทั่วไป หากแพทย์ไทย คนไทยช่วยกันใช้ผลิตภัณฑ์จากขมิ้นชัน สุขภาพ เศรษฐกิจ ของคนไทย ของประเทศไทยก็คงจะดีขึ้นอย่างแน่นอน
วิธีและปริมาณที่ใช้
เป็นยาภายในเหง้าแก่สดยาวประมาณ 2 นิ้ว เอามาขูดเปลือก ล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียด เติมน้ำ คั้นเอาแต่น้ำ รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้ง
เป็นยาภายนอกเหง้าแก่แห้งไม่จำกัดจำนวน ป่นให้เป็นผงละเอียด ใช้ทาตามบริเวณที่เป็นเม็ดผื่นคัน โดยเฉพาะในเด็กนิยมใช้มาก
สารเคมี ราก และ เหง้า มี tumerone, zingerene bissboline, zingiberene,(+) - sabinene, alpha-phellandrene, curcumone, curcumin
ข้อควรระวัง1. การใช้ผงขมิ้นเป็นยารักษาโรคกระเพาะ ถ้าใช้ขนาดสูงเกินไปจะทำให้เกิดแผลในกระเพาะ 2.คนไข้บางคนอาจมีอาการแพ้ขมิ้น โดยมีอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหัว นอนไม่หลับ ให้หยุด





























วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2552

กระเจี๊ยบแดง

กระเจี๊ยบแดง






ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus sabdariffa L.
ชื่อวงศ์ MALVACEAE
ชื่ออื่น ๆ กระเจี๊ยบ, กระเจี๊ยบแดง, กระเจี๊ยบเปรี้ยว (กลาง),
ผักเก็งเค็ง, ส้มเก็งเค็ง, ส้มตะเลง-เครง (ตาก),
ส้มปู (เงี้ยว,แม่ฮ่องสอน), ส้มเก็ง(เหนือ),
ส้มพอเหมาะ (เหนือ), ส้มพอดี (อีสาน) Jamaica sorrel,
Sorrel, Roselle, Rosella, Kharkade or karkade,
Vinuela, Cabitutu
ส่วนที่ใช้ กลีบรองดอก (calyx) หรือที่เรียกว่า ดอกกระเจี๊ยบ


การปลูก
กระเจี๊ยบแดงเป็นพืชไวแสงที่สามารถปลูกได้ทั่วไป ชอบอากาศร้อนหรือค่อนข้างร้อน ทนต่อความแห้งแล้ง และไม่ชอบน้ำขัง ใช้วิธีปลูกในแปลงปลูก โดยหยอดเมล็ดตามแถวที่ไถไว้ หยอดหลุมละประมาณ 4-5 เมล็ด ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 70 เซนติเมตร แล้วกลบดินเล็กน้อย เมื่อกระเจี๊ยบแดงเป็นต้นอ่อนอาจถอนทิ้งหลุมละ 2-3 ต้น เพื่อให้ไม่แน่นมากนัก ควรให้น้ำสม่ำเสมอในช่วง 1-2 เดือนแรก หลังจากนั้นจะปล่อยตามธรรมชาติ
นอกจากนี้ อาจปลูกในพื้นที่แปลงข้าวโพด เมื่อปลูกข้าวโพดแล้วประมาณ 1 เดือน โดยนำเมล็ดกระเจี๊ยบแดงผสมลงไปกับปุ๋ยข้าวโพด แล้วนำใส่เครื่องหยอดพ่วงกับรถไพเดินตาม หยอดตามช่องว่างระหว่างแถวข้าวโพด ต้นกระเจี๊ยบแดงจะเจริญเติบโตระหว่างแถวข้าวโพด เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพดแล้วกระเจี๊ยบแดงอยู่ในช่วงออกดอกพอดี
พันธุ์ที่ใช้
พันธุ์ซูดานหรือพันธุ์เกษตร เนื้อหนา มีสีแดงเข้มจนถึงม่วงลักษณะกลีบเลี้ยงค่อนข้างหนา เนื้อบาง มีสีแดงสด ลักษณะกลีบเลี้ยงค่อนข้างบาง
การเก็บเกี่ยว
ควรเก็บเกี่ยวในช่วงที่พืชเจริญเติบโตเต็มที่ คือ ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงช่วงเก็บเกี่ยวใช้เวลา 4 เดือน ถึง 4 เดือนครึ่ง ซึ่งการเก็บเกี่ยวกระเจี๊ยบแดงสามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้
1. เก็บเกี่ยวเฉพาะดอกกระเจี๊ยบแดง ใช้กรรไกรหรือมีดตัดเฉพาะดอกกระเจี๊ยบที่แก่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยว
2. เก็บเกี่ยวทั้งต้นกระเจี๊ยบ เกษตรใช้เคียวเกี่ยวกิ่งที่มีดอกกระเจี๊ยบบริเวณโคนกิ่ง
การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
ดอกกระเจี๊ยบที่เก็บเกี่ยวได้นำมากระทุ้งให้กลีบดอกและกระเปาะเมล็ดหลุดออกจากกันโดยใช้เหล็กกระทุ้ง และนำกลีบดอกที่กระทุ้งได้มาตากในภาชนะที่สะอาด ไม่มีฝุ่น ตากแดดประมาณ 5-6 วัน หรืออบให้แห้งสนิท จึงทยอยเก็บ ส่วนกระเปาะเมล็ดให้แยกตาม เมื่อแห้งสนิทให้ร่อนเมล็ดออก นำไปจำหน่ายได้เช่นกัน
สารสำคัญ
กลีบรองดอกมีสารสีแดงจำพวก anthocyanin จึงทำให้มีสีม่วงแดง เช่นสาร cyanidin, delphinidin และมีกรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น ascorbic acid, citric acid, malic acid และ tartaric acid กรดเหล่านี้ทำให้กระเจี๊ยบมีรสเปรี้ยว และยังพบมีวิตามินเอ Pectin และแร่ธาตุอื่น ๆ ได้แก่ แคลเซียมในปริมาณสูงฟอสฟอรัส แมกนีเซียม เป็นต้น ใบและยอดอ่อนมีวิตามินเอ แคลเซียมและฟอสฟอรัสในปริมาณสูง
ผลการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
การศึกษาในสัตว์ทดลองหรือหลอดทดลอง พบว่า สารสกัดหรือสารสำคัญของกระเจี๊ยบแดงมีฤทธิ์หลายประการ ดังนี้
1. ฤทธิ์ลดความดันโลหิต ชาชงหรือสารสกัดด้วยน้ำของกระเจี๊ยบแดงแสดงฤทธิ์ลดความดันโลหิตในหนูขาวได้ กลไกการออกฤทธิ์ส่วนหนึ่งอาจเนื่องจากฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ angiotensin converting enzyme
2. ฤทธิ์ลดไขมันในเลือด เมื่อให้กระต่ายที่กินไขมันสูง กินสารสกัดกระเจี๊ยบ 0.5 % หรือ 1 % นาน 10 สัปดาห์ พบว่าทำให้ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ โคเลสเตอรอล และแอลดีแอล-โคเลสเตอรอลลดลงและความรุนแรงของการอุดตันของหลอดเลือดแดงใหญ่จากหัวใจน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ
3. ฤทธิ์ต้านการเกิดพิษต่อตับ มีงานวิจัยในสัตว์ทดลอง พบว่าสารสกัดด้วยน้ำหรือสารสำคัญกลุ่ม anthocyanins และสาร protocatechuic acid ของกระเจี๊ยบสามารถลดความเป็นพิษต่อตับของสารพิษได้หลายชนิด
4. ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร สารสกัดด้วยน้ำ และส่วนสกัด mucilage มีฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนูขาว เมื่อถูกกระตุ้นให้เกิดแผลด้วยยาอินโดเมธาซิน, กรด/เอธานอล หรือความเครียด โดยการรักษาปริมาณเมือกที่เคลือบผนังกระเพาะอาหารไว้
ประสิทธิผลในการรักษาจากรายงานการวิจัยทางคลินิก ดังนี้
1.ฤทธิ์ลดความดันโลหิต
การวิจัยทางคลินิกของชาชงกระเจี๊ยบแดงในผู้ป่วย ความดันโลหิตสูงปานกลาง 54 คน เทียบระหว่างกลุ่มที่ได้ชาชงกระเจี๊ยบ (31 คน) กับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ชาชง (23 คน) พบว่าในวันที่ 12 หลังได้รับชาชง ค่าความดันโลหิตเมื่อหัวใจบีบตัวและเมื่อหัวใจคลายตัว ลดลง 11.2% และ 10.7% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับวันแรก ซึ่งแตกต่างจากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ และ 3 วันหลังจากหยุดดื่มชาชงค่าความดันโลหิตทั้งสองค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
2. ฤทธิ์ขับปัสสาวะ
เมื่อให้ผู้ป่วย 50 ราย ดื่มผงกระเจี๊ยบ 3 กรัม ชงน้ำเดือด 1 ถ้วยแก้ว (300 ซีซี) วันละ 3 ครั้ง นาน 7 วันถึง 1 ปี พบว่า ได้ผลดีในการขับปัสสาวะ
3. การศึกษาในผู้ป่วยโรคทางเดินปัสสาวะ
เมื่อให้ผู้ป่วยโรคนิ่วหรือโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ เนื้องอกของต่อมลูกหมากหลังการผ่าตัด ใช้น้ำดอกกระเจี๊ยบ 3 กรัม มาชงกับน้ำเดือด 1 แก้ว ดื่มวันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 1 ปี พบว่า 80 % ของผู้ป่วยมีปัสสาวะใสกว่าเดิม และพบว่าทำให้ปัสสาวะเป็นกรดจึงช่วยฆ่าเชื้อในทางเดินปัสสาวะด้วย
ข้อห้ามใช้
ไม่มีข้อมูล
ข้อควรระวัง
กระเจี๊ยบแดงอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ในผู้ป่วยบางราย เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นยาระบายด้วย
ขนาดที่ใช้ และวิธีใช้
ใช้เป็นยารักษาอาการขัดเบา โดยนำกลีบเลี้ยงตากแห้งบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำ 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาจะหายไป