เกาะสมุย

เกาะพีพี

ปฏิทินของฉัน

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa L.
ชื่อสามัญ : Turmaric
วงศ์ : Zingiberaceae
ชื่ออื่น : ขมิ้น (ทั่วไป) ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้มิ้น หมิ้น (ภาคใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 30-90 ซม. เหง้าใต้ดินรูปไข่มีแขนงรูปทรงกระบอกแตกออกด้านข้าง 2 ด้าน ตรงกันข้ามเนื้อในเหง้าสีเหลืองส้ม มีกลิ่นเฉพาะ ใบ เดี่ยว แทงออกมาเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนทับกันรูปใบหอก กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอก ช่อ แทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวล บานครั้งละ 3-4 ดอก ผล รูปกลมมี 3 พู

ส่วนที่ใช้ : เหง้าแก่สด และแห้ง
ประโยชน์ละสรรพคุณของขมิ้นชัน
ขมิ้นชัน เป็นสมุนไพรที่ใครๆ ก็รู้จัก เพราะมักจะพบในชีวิตประจำวัน โดยนิยมใช้ปรุงแต่งกลิ่นและรสในอาหารหลายชนิด โดยเฉพาะอาหารทางภาคใต้ เช่น แกงเหลือง แกงไตปลา แกงกะหรี่ ไก่ทอดขมิ้น เป็นต้น นับเป็นความฉลาดของคนใต้ ที่หาวิธีกินขมิ้นในชีวิตประจำวัน เพราะขมิ้นนั้นปัจจุบัน มีงานศึกษาวิจัยพบว่ามีคุณค่าต่อสุขภาพยิ่งนัก และยังพบว่าขมิ้นชันโดยเฉพาะในภาคใต้ดีที่สุดในโลก เพราะมีสารสำคัญคือเคอร์คิวมิน และน้ำมันขมิ้นสูงกว่าประเทศอื่นๆ ที่มีการปลูกขมิ้นทั้งหมด คนสมัยก่อนมีการใช้ประโยชน์จากขมิ้นในหลายๆ ด้าน ทั้งเป็นยาภายนอกและยาภายใน ในส่วนของยาภายนอกเชื่อว่าขมิ้นชัน ช่วยรักษาแผล ทำให้แผลไม่เป็นหนอง ช่วยสมานแผล ดังนั้น เวลาที่ก่อนจะบวชเป็นพระนาคต้องปลงผมก่อนอุปสมบท หลังจากโกนผมแล้วเขาจะทาหนังศรีษะด้วยขมิ้น เพื่อรักษาบาดแผลที่อาจจะเกิดจากใบมีดโกน ขมิ้นยังมีสรรพคุณ ในการรักษาพิษแมลงสัตว์กัดต่อย ในสมัยที่ยังเล็กๆ ตอนยุงกัดเป็นตุ่มแดง คุณยายมักจะใช้ปูนกินกับหมากแต้ม เพราะต้องการฤทธิ์แก้พิษของขมิ้น ที่ผสมอยู่ในปูนที่กินกับหมาก และฤทธิ์ของปูนที่ช่วยให้ขมิ้นติดผิวได้ดีขึ้น (ปูนกินกับหมากของคนโบราณ ได้จากการเผาเปลือกหอยจนร้อนจัด สามารถบดเป็นฝุ่นละเอียดสีขาว แล้วเอาไปผสมกับขมิ้นจะให้สีส้ม หรือเรียกเป็นสีเฉพาะว่า สีปูน) นอกจากนี้ยังนิยมใช้ขมิ้นเป็นเครื่องสำอาง คนในแถบตอนใต้ของเอเชีย และแถบตะวันออกไกล ใช้ขมิ้นทาผิวหน้าทำให้ผิวหน้านุ่มนวล คนมาเลเซียและคนไทยสมัยก่อนจะใช้ขมิ้นในการอาบน้ำ ทำให้ผิวผ่องยิ่งขึ้น วิธีการอาบน้ำด้วยขมิ้นนั้น จะทาขมิ้นหมักไว้ที่ผิวหนังสักพัก แล้วจึงขัดออกด้วยส้มมะขามเปียก นอกจากทำให้ผิวหนังนุ่มนวลแล้ว ขมิ้นยังมีสรรพคุณในการป้องกันการงอกของขน ผู้หญิงอินเดียจึงใช้ขมิ้นทาผิวหนัง เพื่อป้องกันไม่ให้ขนงอก คนพม่าเชื่อว่าถ้าใช้ขมิ้นผสมสมุนไพร ที่ชื่อทาคาน่า ทาผิวเด็กสาวตั้งแต่ยังเล็กๆ จะทำให้เนื้อผิวละเอียด จนมีคำกล่าวในบรรดาชายไทยว่าสาวจะสวยต้อง "ผิวพม่า นัยน์ตาแขก" ส่วนในการใช้เป็นยารับประทาน เชื่อว่าขมิ้นชันมีสรรพคุณในการกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย มีสรรพคุณในการช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ช่วยย่อยอาหาร มีสรรพคุณในการบำรุงร่างกายและช่วยบำรุงตับ รักษาระบบทางเดินหายใจที่ผิดปกติ หืด ไอ เวียนศรีษะ รักษาอาการปวดและอักเสบเนื่องจากไขข้ออักเสบ เป็นต้น ปัจจุบันมีการศึกษาเพื่อพิสูจน์สรรพคุณของขมิ้น ตามการใช้แบบโบราณ ก็พบว่ามีสรรพคุณมากมายตามที่เคยใช้กันมา เช่น ขมิ้นชันมีสรรพคุณทำให้แผลหายเร็วขึ้น มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ลดปฏิกิริยาภูมิแพ้ เพิ่มภูมิคุ้นกันให้แก่ร่างกาย มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง มีฤทธิ์ขับน้ำดีช่วยในการย่อยและป้องกันไม่ให้เป็นนิ่วในถุงน้ำดี มีฤทธิ์ขับลม และมีการศึกษาการใช้ขมิ้นชันรักษาโรคกระเพาะในประเทศไทย (โรงพยาบาลศิริราช) พบว่า ได้ผลดีพอควร มีการค้นพบสรรพคุณใหม่ๆ ของขมิ้นชันอีกมากมาย เช่น การป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด การชลอความแก่ การเป็นสารต้านมะเร็งและเนื้องอกต่างๆ พบว่า การกินอาหารผสมขมิ้นสามารถทำลายเชื้อไวรัสที่ผ่านมาทางอาหารได้ รวมทั้งสามารถป้องกันมะเร็งจากสารก่อมะเร็งต่างๆ และยังมีสรรพคุณในการต้านไวรัส โดยเฉพาะเชื้อ HIV อันเป็นต้นเหตุของโรคเอดส์ ขมิ้นชันจึงเป็นอีกความหวังหนึ่งของผู้ป่วยเอดส์ ขมิ้นชันยังมีคุณสมบัติ ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันและลดปฏิกิริยาการแพ้ คนที่เป็นโรคภูมิแพ้และเป็นหวัดบ่อยๆ สมควรกินอาหารใต้ที่ใส่ขมิ้นทุกวันจะได้แข็งแรง ตอนนี้สงสารหมอโรคภูมิแพ้ เพราะคนเป็นกันมากเหลือเกินและเราต้องขาดดุลยารักษาโรคภูมิแพ้ ที่รักษาไม่หายสักที่ปีละมากมายมหาศาล หันมาลองกินขมิ้นชันกันดีกว่า หากจะหันกลับมากินขมิ้นชันกันนั้น ควรเลือกขมิ้นชันที่ได้คุณภาพ คือ ขมิ้นชันต้องมีอายุอย่างน้อย 9-12 เดือน จึงสามารถขุดเหง้ามาทำยาได้ และต้องไม่เก็บไว้นานเกินไป จนน้ำมันหอมระเหยหายหมด และต้องเก็บให้พ้นแสง เพราะแสงจะมีปฏิกิริยากับเคอร์คิวมิน อันเป็นสารสำคัญในขมิ้นชัน หากจะกินขมิ้นอย่างเป็นล่ำเป็นสันก็ควรปลูกเอง ดูเอง ขุดมาใช้เองดีที่สุด ถูกดี และควบคุมคุณภาพได้ คนที่ทำไม่ได้ก็จงเลือกแหล่งซื้อที่ไว้ใจได้ ปัจจุบันขมิ้นชันแคปซูล อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ และเป็นยาในงานสาธารณสุขมูลฐาน จึงสามารถที่จะเบิกค่ายาจากระบบประกันได้ และแคปซูลขมิ้นชั้นยังสามารถวางจำหน่ายได้ในร้านค้าทั่วไป หากแพทย์ไทย คนไทยช่วยกันใช้ผลิตภัณฑ์จากขมิ้นชัน สุขภาพ เศรษฐกิจ ของคนไทย ของประเทศไทยก็คงจะดีขึ้นอย่างแน่นอน
วิธีและปริมาณที่ใช้
เป็นยาภายในเหง้าแก่สดยาวประมาณ 2 นิ้ว เอามาขูดเปลือก ล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียด เติมน้ำ คั้นเอาแต่น้ำ รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้ง
เป็นยาภายนอกเหง้าแก่แห้งไม่จำกัดจำนวน ป่นให้เป็นผงละเอียด ใช้ทาตามบริเวณที่เป็นเม็ดผื่นคัน โดยเฉพาะในเด็กนิยมใช้มาก
สารเคมี ราก และ เหง้า มี tumerone, zingerene bissboline, zingiberene,(+) - sabinene, alpha-phellandrene, curcumone, curcumin
ข้อควรระวัง1. การใช้ผงขมิ้นเป็นยารักษาโรคกระเพาะ ถ้าใช้ขนาดสูงเกินไปจะทำให้เกิดแผลในกระเพาะ 2.คนไข้บางคนอาจมีอาการแพ้ขมิ้น โดยมีอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหัว นอนไม่หลับ ให้หยุด





























2 ความคิดเห็น:

  1. ขมิ้นชันมีประโยชน์มากๆๆๆๆๆ
    ทั้งทำอาหารทั้งเป็นยาดีจริงๆ

    ตอบลบ
  2. ขมิ้นชันนี้ดีมาเลย ดดยเฉพาะสาวๆ ที่ชอบเรื่องความสวยความงาม

    ตอบลบ